เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.สัตตาวาสวรรค 2.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ 3 ประการ
ฐานะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้แกล้วกล้า
2. เป็นผู้มีสติ1
3. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในชมพูทวีปนี้2
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ 3 ประการนี้แล
ติฐานสูตรที่ 1 จบ

2. อัสสขฬุงกสูตร3
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[22] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก 3 จำพวก คนกระจอก 3
จำพวก ม้าดี 3 จำพวก และคนดี 3 จำพวก ม้าอาชาไนย4พันธุ์ดี 3 จำพวก
และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ 3 จำพวก เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น
ม้ากระจอก 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

เชิงอรรถ :
1 มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก
ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. 3/21/303)
2 เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค
มีองค์ 8 (องฺ.นวก.อ. 3/21/303) และดู อภิ.ก. 37/271/95
3 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/141-143/387-392 (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร)
4 ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. 154/105)
หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. 2/143/273) และดู องฺ.ติก. (แปล) 20/97/330

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :476 }